ประวัติ
อ็องรี รูโซเกิดที่เมืองลาวาลในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ ครอบครัวมีอาชีพเป็นช่างประปา เมื่อยังเยาว์วัยก็ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนประจำระดับมัธยมในลาวาลเองในฐานะนักเรียนไปกลับ หลังจากบิดาไปเป็นหนี้จนถูกยึดบ้าน รูโซเป็นนักเรียนระดับปานกลางในวิชาทั่วไป แต่ได้รับรางวัลทางด้านการวาดภาพและดนตรี ต่อมารูโซก็ทำงานเป็นทนายความและศึกษากฎหมาย แต่ก็ “ไปทำผิดกฎหมายเล็กน้อย แต่ก็เลี่ยงไปเป็นทหาร” อยู่เป็นเวลาสี่ปีเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1863 เมื่อบิดาเสียชีวิตรูโซก็ย้ายไปรับราชการอยู่ในปารีสในปี ค.ศ. 1868 เพื่อไปเลี้ยงดูแม่ที่เป็นหม้าย ในปี ค.ศ. 1871 รูโซก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพนักงานเก็บภาษี และเริ่มทำการเขียนภาพอย่างจริงจังเมื่ออายุได้สี่สิบกว่าๆ พออายุได้ 49 ก็ลาออกจากราชการมาเป็นจิตรกรเต็มตัว เมื่อภรรยาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1888 รูโซก็แต่งงานใหม่
รูโซอ้างว่า “ไม่มีผู้สอนแต่อย่างใด นอกไปจากธรรมชาติ” แต่ก็ยอมรับว่าได้รับ “คำแนะนำ” จากจิตรกรศิลปะสถาบัน, เฟลิกซ์ โอกุสต์-เคลมงต์ และ ฌอง-เลยง เฌโรม แต่ตามความเป็นจริงแล้วรูโซก็เป็นผู้ที่เรียนรู้การเขียนจิตรกรรมด้วยตนเอง และเขียนในลักษณะที่เรียกว่าเป็นแบบบรรพกาล และ แบบนาอีฟ
งานเขียน
ภาพที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดหลายภาพเป็นภาพป่าดิบ แม้ว่ารูโซเองจะไม่เคยออกจากฝรั่งเศสไปเห็นป่าดิบด้วยตาของตนเองก็ตาม ข่าวลือโดยผู้ที่ชื่นชมที่ว่าเมื่อรูโซรับราชการเป็นทหารแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรุกรานเม็กซิโกก็ไม่มีมูลแต่อย่างใด แรงบันดาลใจของภาพเขียนมาจากหนังสือที่มีภาพประกอบ และสวนพฤกษชาติในกรุงปารีส และภาพสัตว์ป่า แต่รูโซก็มีโอกาสได้สนทนากับทหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรุกรานเม็กซิโก และได้ฟังเรื่องราวต่างที่ทหารได้ไปประสบมาในประเทศกึ่งร้อน รูโซกล่าวกับนักวิพากษ์ศิลป์อาร์เซเน อเล็กซองเดรว่าเมื่อได้ไปเยี่ยมชมสวนพฤกษชาติว่าเมื่อเข้าไปในเรือนกระจกตนเองก็จะเห็นต้นไม้ที่แปลกจากดินแดนอันห่างไกล ที่ทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในฝัน
นอกจากภาพเขียนที่แปลกตาแล้ว รูโซก็เขียนภาพของบ้านเมืองและปริมณฑลของปารีสที่มีขนาดเล็กกว่าด้วย รูโซอ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวการเขียนภาพประเภทใหม่ที่เรียกว่า “ภาพเหมือนภูมิทัศน์” (portrait landscape) โดยเริ่มการเขียนทิวทัศน์ของบริเวณต่างในกรุงปารีสที่ชอบ และเขียนภาพคนไว้ด้านหน้าของภาพ
ผลงาน
ลักษณะการวาดของรูโซที่ดูราบและที่มีลักษณะเหมือนวาดโดยเด็กทำให้ได้รับการวิจารณ์ และมักทำให้ผู้ดูออกจะตกตลึง หรือเย้ยหยัน นักวิจารณ์กล่าวว่าแม้ว่าจะมีลักษณะที่ดูง่ายคล้ายการเขียนของเด็ก แต่ก็เป็นลักษณะที่แสดงความมีความสามารถสูง (sophistication) ในการเขียนลักษณะดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 รูโซก็แสดงผลงานอย่างสม่ำเสมอที่สมาคมศิลปินอิสระ แม้ว่าในปีแรก ๆ ภาพเขียนจะไม่ได้รับการตั้งแสดงในที่เด่น แต่งานของรูโซก็มีผู้นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ “เสือตื่นเหยื่อ” แสดงในปี ค.ศ. 1891 เมื่อได้รับการวิพากษ์อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกโดยเฟลิกซ์ วาลโลต์ตองผู้กล่าวว่า: “ภาพ “เสือตื่นเหยื่อ” ไม่ควรจะเป็นภาพที่ผู้ดูพลาดจากการชม ภาพนี้เป็นทั้งภาพแรกและภาพสุดท้าย” แต่กระนั้นก็ยังเป็นเวลาอีกกว่าสิบปีก่อนที่รูโซจะหันกลับมาวาดภาพป่าดงดิบอีก
ในปี ค.ศ. 1893 รูโซย้ายห้องเขียนภาพไปยังมงปาร์นัสที่รูโซพำนักและทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1910 ระหว่าง ค.ศ. 1897 รูโซเขียนงานชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งชื่อ “ยิบซีหลับ” (La Bohémienne endormie)
ระหว่างปี ค.ศ. 1905 ภาพ “สิงโตหิวกระโจนงับแอนตีโลพ” ได้รับการแสดงที่สมาคมศิลปินอิสระเคียงข้างกับงานของจิตรกรอาวองการ์ดชั้นนำเช่นอ็องรี มาติสซึ่งถือกันว่าเป็นปีแรกที่มีการแสดงภาพเขียนของลัทธิโฟวิสต์ ซึ่งภาพเขียนของรูโซอาจจะมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อลัทธิก็เป็นได้
ในปี ค.ศ. 1907 รูโซได้รับจ้างโดยเบิร์ทเธอคองเทส เดอ โลเนย์มารดาของจิตรกรโรแบร์ต เดอโลเนย์ให้เขียนภาพ “หมองู” (The Snake Charmer)
เมื่อบังเอิญไปเห็นภาพเขียนโดยรูโซถูกขายอยู่ตามถนนเพื่อจะเอาผ้าใบไปเขียนทับเป็นภาพใหม่ ปาโบล ปีกัสโซ ก็ทราบถึงคุณค่าของงานของรูโซทันทีและได้ไปทำความรู้จักกับรูโซ ในปี ค.ศ. 1908 ปีกัสโซก็จัดงานเลี้ยงกึ่งเป็นจริงเป็นจังในห้องเขียนภาพใน “Le Bateau-Lavoir” เพื่อเป็นเกียรติแก่รูโซ
หลังจากปลดเกษียณในปี ค.ศ. 1893 รูโซก็หารายได้เพิ่มเงินบำนาญจำนวนเล็กน้อยโดยการเล่นไวโอลินตามถนน และทำงานอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งที่ “Le petit journal” ที่ได้มีโอกาสเขียนภาพหน้าปกหลายภาพ
รูโซเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1910 ในโรงพยาบาลในกรุงปารีส ผู้ไปงานศพก็มีเพื่อนเจ็ดคนที่รวมทั้งจิตรกรพอล ซียัค และ มานูเอล ออร์ทีซ เดอ ซาราต, โรแบร์ต เดอโลเนย์ และภรรยา ซอนยา เดอโลเนย์, ประติมากรคอนสแตนติน บรังคูซิ, เจ้าของบ้าน อาร์มองด์ เควาล และ กีโยม อาโปลีแนร์ ผู้เขียนบทอนุสรณ์สำหรับหินบนหลุมศพว่า
We salute you
Gentle Rousseau you can hear us
Delaunay his wife Monsieur Queval and myself
Let our luggage pass duty free through the gates
of heaven
We will bring you brushes paints and canvas
That you may spend your sacred leisure in the
light of truth Painting
as you once did my portrait
Facing the stars
lion and the gypsy”
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B5_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B
ความคิดเห็นของอาจารย์เฉลิมชัยต่อ อองรี
นาอีฟคืออะไร นาอีฟเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งที่คนที่ไม่ได้เรียนวาดรูป วาดขึ้นมา วาดมาจากหัวจิตหัวใจจากความไม่รู้ แต่สามารถสร้างงานศิลปะที่เป็นตัวตนของตนเองได้ มีความรู้ที่เป็นคุณค่าทางศิลปะสูงมากเท่ากับคนที่เรียนมีความรู้ คนผู้นั้นคือออรี รูโซ เค้าเป็นคนเขียนรูปจากคนไม่เคยเรียนศิลปะเลย แต่งานของเค้ายิ่งใหญ่มาก เค้าเขียนธรรมชาติ เขียนเสือ เขียนอะไรซ่อนมิสติกมาก แล้วสีดิบๆ สีแบบไม่เคยเรียน ไม่รู้จักสี ไม่รู้จักทักษะของการวาดรูป ไม่รู้อะไรเลย แต่กูวาดรูปมาจากหัวใจ จากความรู้สึกของกูเอง ดังนั้นงานศิลปะของรูโซนั้นจึงเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่ามาก เป็นงานศิลปะที่แปลกออกไปจากลัทธิอื่น ในลัทธิทุกลัทธิไม่ว่าจะเป็นอิมแบดจินีส เอกแบกจินีส คิวบิสซึ่มหรืออะไรต่อๆไป แต่ว่านาอีฟเป็นงานศิลปะของพวกคนที่ไม่เคยเรียนอะไร แต่เขียนรูปจากความรู้สึก ที่ได้เห็น ได้พบ แล้วรู้สึก แล้วเขียน เขียนจากความปราณีตในใจของตนเอง จึงกลายเป็นงานศิลปะที่พิเศษมาก นอกเหนือจากงานศิลปะของพวกมีความรู้ทั้งหลาย โอโห อันนี้น่าสนใจครับ อยากจะให้พี่น้องประชาชนได้ไปเปิดดู ผมชอบ คนวาดรูปเก่งทุกคนในโลกชอบนาอีฟ เพราะว่ามันมาจาก ซินเซีย ซินเซียก็คือมาจากหัวใจ มาจากความรู้สึกที่ตรงไปตรงมา ( ที่มา จากการให้สัมภาษณ์ของ อ. เฉลิมชัย โฆฆิษพิพัตฒ์ จากรายการสอนศิลป์ )
คลิปการให้สัมภาษณ์ อ.เฉลิมชัยเกี่ยวกับอองรี นาทีที่ 6:44
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น