2555-03-08

ภาพปะติด

ภาพปะติด หรือ คอลลาจ คือ การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องอาศัยพื้นฐานของการวาดภาพเขียนภาพนั่นเอง แทนที่จะวาภาพแล้วระบายสี กลับใช้วัสดุที่มีรูปร่าง รูปทรง ซึ่งมีสีสันต่างๆ ปะติดลงไปจะได้ภาพตามต้องการ
            ภาพปะติด เป็นงานสื่อประสมแบบ 2 มิติ เริ่มแรกเป็นการนำเอาวัสดุที่มีลักษณะ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ กระดาษ ภาพเขียนและวัสดุอื่นๆ มาปะติดลงบนแผ่นรองรับให้เกิดเป็นภาพต่างๆ ขึ้น โดยอาจจะแต่งเติมด้วยการระบายสีหรือใช้สีของวัสดุทั้งหมด ภาพปะติดในระยะหลังเริ่มใช้วัสดุที่มีความหนามากขึ้นและหลากหลายชนิดมากขึ้น แต่ยังคงปะติดอยู่บนแผ่นพื้นระนาบเช่นเดิม
            คอลลาจ ถูกบันทึกไว้ว่ามีการใช้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 แต่ความจริงแล้วมีมาตั้งแต่สมัย ศตวรรษที่ 18 นักบวชได้ใช้งานปะติดตกแต่งในหนังสือสวดมนต์ การ์ดอวยพรวันวาเลนไทน์ จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดความนิยมและแพร่ขยายตัวออกไป เครื่องมือ เครื่องจักร มีวิวัฒนาการทันสมัยขึ้น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สินค้ารูปแบบต่างๆ มากมาย กระดาษ และหนังสือพิมพ์ ผ้า ลูกปัด เกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีวิวัฒนาการของคอลลาจเกิดขึ้นอีกมากมาย

 ภาพปะติดที่นำกระดาษจากนิตยสารมาติดเป็นใบหน้าบุคคลที่มีชื่อเสียง 
ที่มา
 http://www.thaigoodview.com/node/20371
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

คีตกวีเอกของโลก : ยุคบาโรค

คีตกวีเอกของโลก : ยุคบาโรค

 

ชื่อคีตกวี                              โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค(Johann Sebastian Bach, 1685-1750)


ประวัติ
        โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักเล่นออร์แกนชาวเยอรมัน   เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค (Eisenach) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลปซิค  ผลงานของบาคกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโทเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์
        งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถิพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่างๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคมีความเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน


ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง 
Passions
  • St. Matthew Passion, BWV. 244 - perf. 1729
  • St. John Passion, BWV. 245 - perf. 1724
  • St. Mark Passion, BWV. 247 - perf. 1731
Brandenburg Concertos - 1731
  • No. 1, BWV. 1046 - F Major
  • No. 2, BWV. 1047 - F Major
  • No. 3, BWV. 1048 - G Major
  • No. 4, BWV. 1049 - G Major
  • No. 5, BWV. 1050 - D Major
  • No. 6, BWV. 1051 - B flat Major
Orchestral Suites
  • BWV. 1066, C Major - 1725
  • BWV. 1067, b minor - 1739
  • BWV. 1068, D Major - 1731
  • BWV. 1069, D Major - 1725
 การจัดหมวดหมู่ผลงานของบาค
            ผลงานดนตรีของบาคถูกเรียงระบบด้วยตัวเลข BWV ซึ่งเป็นตัวย่อของคำว่า Bach Werke Verzeichnis ที่แปลว่า คาตาลอกผลงานของบาค ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นในปี คศ. 1950 และเรียบเรียงโดยโวล์ฟกัง ชะไมเดอร์ (Wolfgang Schmieder). คาตาลอกนี้ไม่ได้ถูกเรียบเรียงตามเวลา แต่ตามเรื่องราว. BWV 1-224 เป็นผลงานแคนตาตา BWV 225–48 เป็นผลงานสำหรับคณะนักร้องชิ้นใหญ่ BWV 250–524 เป็นผลงานขับร้องและดนตรีศักดิ์สิทธิ BWV 525–748 เป็นผลงานสำหรับออร์แกน BWV 772–994 เป็นผลงานสำหรับเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด BWV 995–1000 เป็นผลงานสำหรับลูท BWV 1001–40 เป็นผลงานดนตรีแชมเบอร์(chamber music) BWV 1041–71 เป็นผลงานสำหรบออร์เคสตรา และ BWV 1072–1126 เป็นผลงานแคนอน และ ฟูเก้. ในขั้นตอนการจัดเรียงคาตาลอกนี้ ชะไมเดอร์เรียบเรียงตาม Bach Gesellschaft Ausgabe ที่เป็นผลงานของบาคแบบครบถ้วนทตีพิมพ์ขึ้นในระหว่างปี คศ. 1850-1905.

ที่มา  http://www.thaigoodview.com/node/17225
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

เทคนิดการใช้สีน้ำ

เทคนิคการใช้สีน้ำ

เทคนิดพื้นฐาน 5 อย่างนี้จะทำให้เพื่อนๆหรือผู้ที่เริ่มต้นรู้จักสีน้ำมากขึ้น และสามารถนำไปสร้างผลงานศิลปะด้วยสีน้ำที่สวยงามได้อย่างแน่นอนค่ะ

การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet on Wet) คือสีเปียก(สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี(ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปืยกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนเกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา
ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเลได้
ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้
ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ

ระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet on Dry)
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้

ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้

ระบายเรียบหลายสี(colour wash) ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีต่างๆจะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุทั้งการระบายเรียบสีเดียว และหลายสีเป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบายให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสีเช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้าก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี

ระบายเรียบอ่อนแก่(Grade wash) เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจากแก่ไปหาอ่อนก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึง ก้เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมาเป็นระยะๆให้สีเข้มขึ้น การระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ให้เกิดมิติ แสง-เงา
การระบายแบบแห้งบนแห้ง(Dry on Dry) เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็วประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่นเมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่างด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้มลงไป เราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ Dry on Dry

การระบายเคลือบ(Glazing) เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอคือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ

การระบายขอบคมชัดและเรือนราง(Hard Edge/Soft Edge)
Hard Edge เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการคือ ระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะลงไปเป็น Hard Edge หรือให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา
Soft Edge คือการเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เรา soft edge  โดยใช้น้ำมา soft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้

ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/10611 สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.