2553-12-29

ศิลปะ ในมุมมองของอ. เฉลิมชัย

ศิลปะ ในมุมมองของอ. เฉลิมชัย ในงานนิทรรศการงานศิลป์ระดับเยาวชนและพิธีมอบรางวัล โครงการ "จิตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทย" ปีที่ 4

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เจ้าของรางวัลศิลปากร สาขาทัศนศิลป์ ปี 2547 กว่าวว่า ศิลปะเนี่ยไม่ว่าร้องเพลงก็ดี ไม่ว่าวาดรูปก็ดี เล่นดนตรีก็ดี มันเป็นศิลปะที่จะทำให้เด็กได้รับการพักผ่อน เด็กได้มีสติ อยู่ในโลกส่วนตัวของเค้าเนี่ย เค้าจะได้รับการพักผ่อน เค้าจะมีโอกาสในการที่จะจะทำให้สมองของเค้ามีความจำที่ดี เพราะว่าเค้ามีความสุขกับบางอย่าง มนุษย์มันต้องมีความสุขกับบางอย่างนั้นคิอศิลปะ การอยู่กับศิลปะ การได้เห็นศิลปะ การได้เห็นงาน การได้ร้องเพลง ฟังเพลงเพราะๆ ได้อ่านบทกวีดีๆ เหล่านี้มันเป็นสิ่งที่กล่อมเกลาจิตใจ ทำให้จิตใจเราเป็นศูนย์ จะคิดจะทำอะไรก็ดีทั้งนั้น เป็นสิ่งที่ดี

ทุกโรงเรียนจะมีครูสอนศิลปะอยู่แล้ว ดังนั้นมันต้องครู ครูเป็นผู้ที่ดำเนินการ ดังนั้นถ้าครูมีความขยันหมั่นเพียร ครูเห็นว่าศิลปะมีค่าสำหรับเด็กในการทำให้เด็กมีความสุข ในการทำให้เด็กมีจิตนาการ ครูก็ต้องเอาใจใส่ ครูก็ต้องเอาใจใส่เด็ก เดี๋ยวนี้เด็กมันเรียนโรงเรียนที่ไม่มีครูเอาใจใส่ เค้าก็ออกไปเรียนโรงเรียนพิเศษวาดรูป เยอะแยะไป

ครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่ถ้าเห็นเด็กวาดรูปแล้วไม่ชอบ ไปเคี่ยวเข็ญเค้าไปห้ามเค้า ให้เค้าไปอ่านหนังสือเอาไปอ่านหนังสือมากเกินไป มันก็เครียด ดังนั้นต้องให้เค้าได้พักผ่อนบ้าง ไม่ใช่ว่าจะให้เค้ามายึดเป็นอาชีพ แต่ศิลปะมันอยู่ในใจมนุษย์ทุกคน ทำให้มนุษย์มีความสุข ทำให้มนุษย์เป็นคนดี ศิลปะเป็นคุณงามความดี มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทางอ้อม ศิลปะเป็นสิ่งที่กล่อมเกลา ทำให้มนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นศิลปะให้ประโยชน์แก่ทางใจ มันไม่ออกมาเป็นรูปร่างเป็นตัวเงิน ที่ให้คุณค่าทางจิตใจ ดังนั้นคนที่สนใจศิลปะ เป็นการพักผ่อนทางจิตวิญญาณที่ดีที่สุด ใจจะเป็นสุข ชีวิตเค้าจะเป็นสุข

อันนี้คือสิ่งที่คนไทยเราไม่รู้จัก คนไทยเราขาดเรื่องนี้ คนไทยเรามัวแต่หาเงิน ดังนั้นประเทศที่เจริญแล้วมองว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าที่สุดสำหรับมนุษย์ ถ้าสังคมด้อยพัฒนาอย่างประเทศเราไม่สนใจ มันเจริญยากเพราะมันขาดศิลปะ ลองดูสังคมฝรั่งสิทำไมมันเจริญ ทำไมมันร่ำรวย ทำไมเศรษฐกิจมันดี ทุกอย่างมันดีหมด เพราะมันมีสุนทรียภาพทางด้านความงาม มันรู้ว่าศิลปะมันสร้างบุคลากรของประเทศชาติ แต่ศิลปะไม่มีทางเกิดขึ้นในโลกที่สามอย่างพวกเรา ประเทศที่จน หรือประเทศที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าเทียมกับฝรั่ง
แต่ขณะนี้มันก็ดีแล้ว ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ขณะนี้ก็ดีกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว 20 ปีที่แล้ว มนุษย์มันจะต้องอิ่มหมีพีมัน มันถึงจะเข้าสู่ศิลปะ ดังนั้นศิลปะทำให้มนุษย์มีค่า ทำให้มนุษย์มีจิตนาการ คนไทยมีนิสัยชอบลอก เพราะมันขาดศิลปะ ขาดการเรียนรู้ศิลปะมันจึงลอก

ถึงเวลาสังคมมันจะตื่นตัวของมันเอง เราอย่าไปเคี่ยวเข็ญมัน เราไม่ต้องประกาศถึงประเทศไทยว่าเม่งมึงต้องวาดรูป มันไม่ใช่ มันเป็นไปตามอัตโนมัติ มันเป็นไปตามวิถีของสังคม สังคมเราดีขึ้นมา เค้าก็เห็นค่าของจิตใจ ดังนั้น อีคิวเป็นเรื่องสำคัญ อีคิวมันจะสำคัญก็ต่อเมื่อท้องอิ่ม ต่อเมื่อประเทศชาติมันร่ำรวย ดังนั้นประเทศที่เจริญเนี่ยจะส่งเสริม อีคิวแต่เด็กก็คือศิลปะ เมื่อเด็กเติบโตมีพื้นฐานทางศิลปะ มันก็เติบโตขึ้นมามันก็ใช้ อีคิวและไอคิว ดังนั้นทำให้บ้านเมืองเกิดการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่กระบวนการคึด ทางวิทยาศาตร์ ทางสังคม ทางการเมือง ทุกอย่าง ทางเศรษฐกิจ มันถึงคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมันคิดเป็นเพราะมันมีจินตนาการ ดังนั้นศิลปะเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับมนุษย์ในเชิงสร้างสรรค์ จบการสัมภาษณ์

ที่มา





แปรคำปรามาสเป็นพลัง อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

“อ้าย เหลิมสร้างสวรรค์ อ้ายหวันสร้างนรก”

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปิน จิตรกรชื่อก้องของเมืองไทย ให้คำนิยามสถาปัตยกรรมที่ตัวเองและอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินรุ่นพี่อีกคนหนึ่งซึ่งมีนิวาสสถานอยู่ไม่ห่างกันนักในอำเภอเมืองเชียงราย กำลังสรรค์สร้างไว้อย่างนั้น

อ้ายเหลิมสร้างสวรรค์ หมายถึง อาจารย์เฉลิมชัยสร้างวัดสีขาวล้วน
อ้ายหวันสร้างนรก หมายถึง อาจารย์ถวัลย์สร้างบ้านดำหรือสถาปัตยกรรมทุกอย่างที่เน้นสีดำเป็นองค์ประกอบหลัก

ทั้งสองท่านเป็นศิลปินใหญ่เชื้อสายคนเชียงราย แต่มีความคิดและฝีมือคมคายในระดับที่เป็นคนของโลกได้อย่างสบาย แต่กว่าจะมีวันนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกความสำเร็จล้วนมีตำนานรองรับเสมอ นี่เป็นสัจธรรมที่คนเด่นดังทั้งหลายต่างทราบอยู่แก่ใจเป็นอย่างดี ความสำเร็จของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ก็เช่นกัน

การที่เด็กน้อยคนหนึ่งซึ่งเคยมีคนปรามาสว่าเป็นกะเหรี่ยงลงดอยจะกลายมาเป็นศิลปินใหญ
่ที่มีคนรู้จักมากมายทั้งประเทศ แน่นอนว่าเส้นทางสายนี้ย่อมมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่กลับเป็นเส้นทางที่ขรุขระอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะขรุขระอย่างไร แม้วลงดอยก็พิชิตมาได้อย่างสง่างาม เพราะมี ธรรม บางอย่างอยู่ในใจ


คนไม่มีธรรม ยากจะประสบความสำเร็จ

ธรรมแห่งความสำเร็จของอาจารย์เฉลิมชัยก็คือ การเป็นคนมองโลกในแง่บวก และการเป็นคนที่ยึดเอาความเพียร เป็นสรณะมาโดยตลอด
ถ้าไม่เพราะมองโลกในแง่บวก มีหรือคนธรรมดาสามัญจากครอบครัวแตกแยกคนหนึ่งจะสามารถเนรมิตวัดที่งามดังชะลอจากสวรร
ค์ ถึงขนาดที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเรียกว่าเป็น The Painting on the Sky ลงมาประดิษฐานไว้ในเมืองมนุษย์ได้อย่างวิจิตรตระการตา โอ่อ่า อลังการ เช่นที่เห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้
อาจารย์เฉลิมชัยเล่าไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติ ว่า เมื่อแรกมาสอบเข้าที่โรงเรียนเพาะช่าง ไม่มีความพร้อมแม้แต่อย่างเดียว มีแต่ใจที่รักอยากจะเรียนศิลปะเท่านั้น(ตรงกับฉันทะ ) เป็นทุนไปสู้กับคนอื่น ครั้นพอไปสอบสัมภาษณ์ก่อนสอบข้อเขียนและสอบจริงภาคปฏิบัติด้วยการแสดงฝีมือทางศิลปะ อาจารย์เฉลิมชัยก็พบว่าทุกอย่างไม่ง่ายซ้ำยังได้คำปรามาสจากอาจารย์ผู้สอบสัมภาษณ์มา
เป็นของแถมเสียอีกด้วย

“ตอนนั้นเขามีการสอบสัมภาษณ์ก่อนสอบจริง พี่ก็เข้าไป อาจารย์ท่านชื่ออาจารย์พจน์สิน ก็มองหน้าเรา มองขึ้นมองลง ดูใบสำคัญแล้วก็ถามว่ามาจากเชียงรายหรือ เราก็ครับ แกมองหน้าเราแบบเหยียดๆ แล้วก็บอกว่า คนดอยนี่ เราก็คิดในใจว่าไอ้นี่ยังไงวะ มาหาว่าเราเป็นคนดอย แกมองหม่แล้วก็บอกว่า กลับไปเหอะ กลับดอยไป เกรดแค่เนี้ยสอบไม่ได้หรอก เสียเวลาเปล่า” 

แต่อาจารย์เฉลิมชัยไม่กลับ
“เราก็ฉุนขาด โกรธ มาว่าเราเด็กดอย ยิ่งมาไล่ให้เรากลับนี่ไม่ยอม แน่ ก็เอาไอ้ความโกรธนั้นมาเป็นความพยายามยิ่งต้องสอบให้ได้ ก็บอก ไม่ครับอาจารย์ ผมจะสอบ ขอลองสอบดู ผมไม่กลับครับ”

คะแนน 51 เปอร์เซ็นต์คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้อาจารย์ผู้สอบสัมภาษณ์ประเมินว่าสติปัญญาอย่างอาจ
ารย์เฉลิมชัยในขณะนั้น ควรจะกลับบ้านมากกว่ามาสอบเข้าเพาะช่าง การประเมินขนองอาจารย์ท่านนั้นยืนอยู่บนพื้นฐานของคนที่มีหัวใจนักสู้

คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากพอแล้ว แต่ยังมีปัญหาใหญ่ยิ่งกว่านั้นรออยู่ข้างหน้า นั่นคือ ถึงเวลาสอบภาคปฏิบัติ นักเรียนทุกคน จะต้องวาดรูปจากของจริงพร้อมทั้งมีการปั้นหุ่นด้วย

แต่นักเรียน บ้านนอกอย่างอาจารย์เฉลิมชัยในขณะนั้น จะเอาความรู้ในวิชาเหล่านี้มาจากไหน เพราะลงจากเชียงรายมาถึงใน กรุงเทพฯ ก็มีแต่ฝีมือที่เคยฝึกปรือจากการวาดภาพคัทเอ๊าท์หน้าโรงหนังเท่านั้นเป็นพื้นฐาน เรียกว่าเป็นมวยวัดมาตลอด ครั้นจะขึ้นไปชกบนเวทีมาตรฐานกับนักมวยอาชีพจึงต้องอึดอัด กระอักกระอ่วนเป็นธรรมดา แต่คนอย่างนายเฉลิมชัยไม่เหมือนเด็กในวัยเดียวกันคือ เมื่อไม่พร้อมก็ไม่ถอย แต่กลับเดินไปข้างหน้า เดินไปหาความพร้อม ไม่ใช่รอให้ความพร้อมเดินเข้ามาหา

“ความพยายาม ความตั้งใจจริงของเราเท่านั้น ที่จะทำให้ผ่านอุปสรรค ตรงนั้นมาได้ คือพี่เป็นคนที่เห็นคนอื่นเก่ง พี่ยอมรับ แต่ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองด้อย มึงเก่งได้ กูก็เก่งได้ แล้วต้องเก่งกว่ามึงด้วย”

ว่าแล้วเด็กที่ถูกปรามาสว่าเป็นแม้วลงดอยคนนั้นจึงรีบไปหาที่เรียนพิเศษแบบเอาเป็นเอ
าตายไม่หลับไม่นอน เรียอยู่ได้สามวันก็ไปสอบเข้าเพาะช่างอีกครั้นหนึ่ง ปรากฏว่าครั้งนี้สอบผ่านฉลุย ได้เข้าไปเรียนสมใจที่น่าขำก็คือ อาจารย์ที่เคยดูถูกเมื่อตอนสอบสัมภาษณ์กลายมาเป็นอาจารย์ประจำชั้นเสียด้วย เห็นหน้าแม้วลงดอยที่เป็นลูกศิษย์แล้วอาจารย์ถึงกับยิ้มด้วยความภูมิใจ เข้ามาตบไหล่แสดงความชื่นชม

เมื่อจบจากเพาะช่าง อาจารย์เฉลิมชัย มาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่นี่มีคำปรามาสที่ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยฝังใจยิ่งกว่าที่เพาะช่างเสียอีก

เหตุการณ์ที่เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจอันสำคัญในชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยนี้ เกิดขึ้นเมื่อมหาวิทยาลัยจะเปิดภาควิชาศิลปะไทยเพิ่มขึ้นอีกภาควิชาหนึ่ง อาจารย์เฉลิมชัยซึ่งเป็นนักศึกษาไฟแรงจึงวาดรูปแบบไทยๆอย่างสุดฝีมือ ไปส่งให้อาจารย์ท่านหนึ่งดู เพื่อแสดงให้อาจารย์เห็นว่าตนมีความสามารถในด้านนี้ จะได้เข้าเรียนในภาควิชาศิลปะไทยกับเขาบ้าง แต่เมื่ออาจารย์ดูรูปแล้วกลับให้คะแนนเพียงเกรด B

คะแนนที่ออกมาทำให้อาจารย์เฉลิมชัยยัวะสุดขีด เข้าไปถามอาจารย์ผ่องผู้ให้คะแนนว่า ทำไมถึงให้เกรดแค่ B คำตอบที่ได้รับคือ “มึงมันมีแต่ฝีมือ แต่ไม่มีสมอง ไม่มีความคิด...”

คำปรามาสนี้เจ็บแสบยิ่งกว่าตอนถูกกล่าวหาว่าเป็นเด็กดอยเสียอีก “ไอ้ห่- มันหาว่ากูไม่มีสมอง มึงคอยดู วันหนึ่งกูจะเอาชนะได้ผ่องให้ได้”

โกรธแสนโกรธแต่ไม่ท้อ ไม่ถอย ไม่ดูถูกตัวเอง คิดอยู่อย่างเดียวว่า ในเมื่อครูดูถูกก็จะต้องพิสูจน์ฝีมือให้เหนือกว่าครูให้ถึงที่สุด

เพราะคำดูถูกจากสองเรียวปากของครู ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยไม่ย่อท้อ มุเรียน มุฝึกฝีมือ จนกระทั่งในที่สุดก็ส่งงานเข้าประกวดจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่3 และผลการตัดสินปรากฏออกมาว่าผลงานนของอาจารย์เฉลิมชัยได้รับรางวัลชนะเลิศ คว้าเหรียญทองได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในชีวิต

ส่วนผลงานของครูที่เคยดูถูก ซึ่งส่งเข้าประกวดในงานเดียวกันไม่เป็นที่ปรากฏว่าโดดเด่นแต่อย่างใด แต่เมื่อเอาชนะครูได้สำเร็จแล้ว
“บอกตรงๆ หลังได้รางวัล พี่รักอาจารย์ผ่องมาก แม้อาจารย์จะไม่รักพี่ รักเพราะว่า เขาเป็นแรงผลักดันให้เราเป็นแบบนี้ เพราะความเกลียดชังทำให้เราได้ดี พี่กราบขอขมาคำว่า ไอ้ห่- ที่เคยใช้กับแก”

และ “เพราะฉะนั้นคนเราถ้ารู้จักเอาความโกรธความเกลียดมาเป็นแรงขับเคลื่อนแล้ว ชีวิตมันก็จะดีขึ้นเอง ที่สำคัญก็คือ อย่าไปท้อต่อคำวิจารณ์พวกนั้น”

หลังจากเรียนจบไม่นาน อาจารย์เฉลิมชัยซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่ม มีแรงในและไฟฝันเต็มที่ กำลังคึกฮึกเหิมว่าตนเองเริ่มจะเป็นศิลปินใหญ่ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งขณะนี้เป็นศิลปินใหญ่ตัวจริงเสียงจริงไปเรียบร้อยแล้ว

ด้วยความเชื่อมั่นว่าตนเองก็มีดีไม่น้อยไปกว่าศิลปินรุ่นพี่อย่างถวัลย์ ดัชนี ศิลปินหนุ่มไฟแรงรุ่นน้องจึงรี่เข้าไปยิงคำถามอย่างตรงไปตรงมา
“พี่หวันครับ ผมได้ข่าวมาว่า พี่หวันเป็นคนขยันมาก แต่ผมเองก็เป็นคนขยันเหมือนกัน ไม่รู้เหมือนกันนะครับระหว่างผมกับพี่หวัน ใครจะขยันกว่ากัน”
เป็นคำถามที่มากด้วยอหังการเหลือหลาย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ไม่ต่อความยาวสาวความยืด หากแต่จับมือศิลปินรุ่นน้องตรงเข้าไปดูห้องทำงานแล้วว่าที่ศิลปินใหญ่ก็ได้รู้ความจร
ิงว่า ตัวเองไม่ต่างอะไรกับมดปลวกที่บังอาจมายืนเทียบกับขุนเขาหิมาลัย

“เราเดินตามเข้าไปดูก็เฮ้ย ไอ้ ห่- พี่เขาขยันกว่าเราหลายเท่าเรารู้สึกว่าตัวเล็กมากที่สุดเลยนะ คือเทียบไม่ได้เลยกับถวัลย์ โอ้โฮ คนคนนี้ ยิ่งใหญ่โว้ย เพราะเขาขยันกว่าเราชนิดเทียบไม่ติด เราก็ถามพี่เขาต่อว่า พี่ครับ ถ้าผมจะใช้ชีวิตเป็นศิลปินอาชีพแบบพี่ อีกกี่ปีถึงจะประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง แล้วพอมีสตางค์เลี้ยงชีวิตบ้าง พี่หวันมองหน้าเราแล้วก็บอกว่า อย่างเอ็งเนี่ย ทนซัก 20 ปีก็แล้วกัน”


หนังสืออัตชีวประวัติของอาจารย์เฉลิมชัยกล่าวถึงปฏิกิริยาครั้งนั้นว่า “คำว่า 20 ปี นั้นเองที่เปรียบเสมือนเชื้อปะทุที่จุดระเบิดให้ไฟของเฉลิมชัยคุโชนขึ้นอีก เพราะในความรู้สึกของเขา นี่คือการปรามาสครั้งใหญ่เฉลิมชัยสาบานกับตัวเองว่า กูจะต้องยิ่งใหญ่ภายในไม่กี่ปีนี้ ทำให้เขาขยันเขียนรูป(เจ้าตัวใช้คำว่า ไฟแลบ) นับตั้งแต่นั้นอย่างไม่ย่อท้ออีกต่อไป”


หลังจากฝ่าด่านคำปรามาสครั้งใหญ่ในชีวิตมาได้อย่างน้อยสามครั้ง เด็กบ้านนอกที่ถูกหาว่าเป็นกะเหรี่ยงหรือแม้วลงดอย ศิลปินที่มีแต่ฝีมือทว่าขาดสมอง และกว่าจะเก่งอย่างพี่ต้องยี่สิบปีเป็นอย่างน้อย ก็บรรลุสู่ฝั่งแห่งความฝันของตนเองได้อย่าสง่างาม เมื่อมีคนถามเคล็ดลับแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในชีวิต อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตอบตามเสียงดังตามสไตล์ว่า


“ความดูถูก ดูแคลน เหยียดหยาม กดขี่ กดดัน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์และการกระทำของคนในอาชีพเดียวกัน ทำให้ผมมีวันนี้”


อ่านคำตอบนี้แล้ว ทำให้จิตประหวัดถึงข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ที่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือแห่งหนึ่ง ฉกเอาปืนของพ่อไปยิงเพื่อนร่วมชั้นดับอนาถถึงสามคน สาเหตุเพียงเพราะถูกเพื่อนปรามาสว่า มีแม่เป็นคนดอย นี่ถ้าเป็นอาจารย์เฉลิมชัย ถ้ามีใครมาดูถูกว่าเป็นลูกคนดอยแทนที่จะหยิบปืนไปยิงเพื่อนจนตัวเองกลายเป็นฆาตกรที่
หมดอนาคต อาจารย์ ก็คงจะพูดออกมาทำนองนี้


“ก็เป็นลูกคนดอยก็จริงอยู่ แต่ลูกของกูจะต้องเป็นลูกนายกรัฐมนตรีของประเทศนี้โว้ย”


เรื่องเดียวกัน สถานการณ์เดียวกัน ทำให้คนสองคนมีปฏิกิริยาต่างกันราวฟ้ากับดิน เพราะคนหนึ่งคิดในทางบวก อีกคนหนึ่งคิดในทางลบ


คนที่คิดทางบวกจึงเป็นคนที่โชคดี มีโอกาสได้กำไรเสมอจากเรื่องเลวร้ายเป็นส่วนมาก ส่วนคนที่คิดในทางลบ บางทีแม้ในเรื่องดีๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ยังไม่รู้จักตักตวงเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ช่างน่าเสียดาย






ที่มา... กำลังใจแด่ชีวิต โดย ว. วชิรเมธี
เสียงอ่านหนังสือ กำลังใจแด่ชีวิต 
http://www.tamdee.net/diary/dhammalotion/i...amp;dfYear=2006

อองรี รูโซ (Henri Rousseau)

อ็องรี ฌูว์เลียง เฟลิกซ์ รูโซ (ฝรั่งเศส: Henri Julien Félix Rousseau; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 2 กันยายน ค.ศ. 1910)[1]เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีลักษณะการเขียนแบบศิลปะนาอีฟ (Naïve art) และ แบบบรรพกาลนิยม (Primitivism) รูโซเป็นที่รู้จักกันว่า “Le Douanier” (เจ้าหน้าที่ศุลกากร) ตามหน้าที่การงาน ระหว่างที่มีชีวิตอยู่รูโซก็ถูกเย้ยหยัน แต่ต่อมาก็เป็นที่นับถือในการที่เป็นผู้สอนตนเองผู้เป็นอัจฉริยะผู้เขียนภาพที่มีคุณภาพสูง

ประวัติ
อ็องรี รูโซเกิดที่เมืองลาวาลในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ ครอบครัวมีอาชีพเป็นช่างประปา เมื่อยังเยาว์วัยก็ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนประจำระดับมัธยมในลาวาลเองในฐานะนักเรียนไปกลับ หลังจากบิดาไปเป็นหนี้จนถูกยึดบ้าน รูโซเป็นนักเรียนระดับปานกลางในวิชาทั่วไป แต่ได้รับรางวัลทางด้านการวาดภาพและดนตรี ต่อมารูโซก็ทำงานเป็นทนายความและศึกษากฎหมาย แต่ก็ “ไปทำผิดกฎหมายเล็กน้อย แต่ก็เลี่ยงไปเป็นทหาร” อยู่เป็นเวลาสี่ปีเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1863 เมื่อบิดาเสียชีวิตรูโซก็ย้ายไปรับราชการอยู่ในปารีสในปี ค.ศ. 1868 เพื่อไปเลี้ยงดูแม่ที่เป็นหม้าย ในปี ค.ศ. 1871 รูโซก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพนักงานเก็บภาษี และเริ่มทำการเขียนภาพอย่างจริงจังเมื่ออายุได้สี่สิบกว่าๆ พออายุได้ 49 ก็ลาออกจากราชการมาเป็นจิตรกรเต็มตัว เมื่อภรรยาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1888 รูโซก็แต่งงานใหม่

รูโซอ้างว่า “ไม่มีผู้สอนแต่อย่างใด นอกไปจากธรรมชาติ”  แต่ก็ยอมรับว่าได้รับ “คำแนะนำ” จากจิตรกรศิลปะสถาบัน, เฟลิกซ์ โอกุสต์-เคลมงต์ และ ฌอง-เลยง เฌโรม แต่ตามความเป็นจริงแล้วรูโซก็เป็นผู้ที่เรียนรู้การเขียนจิตรกรรมด้วยตนเอง และเขียนในลักษณะที่เรียกว่าเป็นแบบบรรพกาล และ แบบนาอีฟ


งานเขียน
ภาพที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดหลายภาพเป็นภาพป่าดิบ แม้ว่ารูโซเองจะไม่เคยออกจากฝรั่งเศสไปเห็นป่าดิบด้วยตาของตนเองก็ตาม ข่าวลือโดยผู้ที่ชื่นชมที่ว่าเมื่อรูโซรับราชการเป็นทหารแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรุกรานเม็กซิโกก็ไม่มีมูลแต่อย่างใด แรงบันดาลใจของภาพเขียนมาจากหนังสือที่มีภาพประกอบ และสวนพฤกษชาติในกรุงปารีส และภาพสัตว์ป่า แต่รูโซก็มีโอกาสได้สนทนากับทหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรุกรานเม็กซิโก และได้ฟังเรื่องราวต่างที่ทหารได้ไปประสบมาในประเทศกึ่งร้อน รูโซกล่าวกับนักวิพากษ์ศิลป์อาร์เซเน อเล็กซองเดรว่าเมื่อได้ไปเยี่ยมชมสวนพฤกษชาติว่าเมื่อเข้าไปในเรือนกระจกตนเองก็จะเห็นต้นไม้ที่แปลกจากดินแดนอันห่างไกล ที่ทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในฝัน

นอกจากภาพเขียนที่แปลกตาแล้ว รูโซก็เขียนภาพของบ้านเมืองและปริมณฑลของปารีสที่มีขนาดเล็กกว่าด้วย รูโซอ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวการเขียนภาพประเภทใหม่ที่เรียกว่า “ภาพเหมือนภูมิทัศน์” (portrait landscape) โดยเริ่มการเขียนทิวทัศน์ของบริเวณต่างในกรุงปารีสที่ชอบ และเขียนภาพคนไว้ด้านหน้าของภาพ

ผลงาน
ลักษณะการวาดของรูโซที่ดูราบและที่มีลักษณะเหมือนวาดโดยเด็กทำให้ได้รับการวิจารณ์ และมักทำให้ผู้ดูออกจะตกตลึง หรือเย้ยหยัน  นักวิจารณ์กล่าวว่าแม้ว่าจะมีลักษณะที่ดูง่ายคล้ายการเขียนของเด็ก แต่ก็เป็นลักษณะที่แสดงความมีความสามารถสูง (sophistication) ในการเขียนลักษณะดังกล่าว

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 รูโซก็แสดงผลงานอย่างสม่ำเสมอที่สมาคมศิลปินอิสระ แม้ว่าในปีแรก ๆ ภาพเขียนจะไม่ได้รับการตั้งแสดงในที่เด่น แต่งานของรูโซก็มีผู้นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ “เสือตื่นเหยื่อ” แสดงในปี ค.ศ. 1891 เมื่อได้รับการวิพากษ์อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกโดยเฟลิกซ์ วาลโลต์ตองผู้กล่าวว่า: “ภาพ “เสือตื่นเหยื่อ” ไม่ควรจะเป็นภาพที่ผู้ดูพลาดจากการชม ภาพนี้เป็นทั้งภาพแรกและภาพสุดท้าย” แต่กระนั้นก็ยังเป็นเวลาอีกกว่าสิบปีก่อนที่รูโซจะหันกลับมาวาดภาพป่าดงดิบอีก




ในปี ค.ศ. 1893 รูโซย้ายห้องเขียนภาพไปยังมงปาร์นัสที่รูโซพำนักและทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1910  ระหว่าง ค.ศ. 1897 รูโซเขียนงานชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งชื่อ “ยิบซีหลับ” (La Bohémienne endormie)

ระหว่างปี ค.ศ. 1905 ภาพ “สิงโตหิวกระโจนงับแอนตีโลพ” ได้รับการแสดงที่สมาคมศิลปินอิสระเคียงข้างกับงานของจิตรกรอาวองการ์ดชั้นนำเช่นอ็องรี มาติสซึ่งถือกันว่าเป็นปีแรกที่มีการแสดงภาพเขียนของลัทธิโฟวิสต์ ซึ่งภาพเขียนของรูโซอาจจะมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อลัทธิก็เป็นได้
ในปี ค.ศ. 1907 รูโซได้รับจ้างโดยเบิร์ทเธอคองเทส เดอ โลเนย์มารดาของจิตรกรโรแบร์ต เดอโลเนย์ให้เขียนภาพ “หมองู” (The Snake Charmer)

เมื่อบังเอิญไปเห็นภาพเขียนโดยรูโซถูกขายอยู่ตามถนนเพื่อจะเอาผ้าใบไปเขียนทับเป็นภาพใหม่ ปาโบล ปีกัสโซ ก็ทราบถึงคุณค่าของงานของรูโซทันทีและได้ไปทำความรู้จักกับรูโซ ในปี ค.ศ. 1908 ปีกัสโซก็จัดงานเลี้ยงกึ่งเป็นจริงเป็นจังในห้องเขียนภาพใน “Le Bateau-Lavoir” เพื่อเป็นเกียรติแก่รูโซ

หลังจากปลดเกษียณในปี ค.ศ. 1893 รูโซก็หารายได้เพิ่มเงินบำนาญจำนวนเล็กน้อยโดยการเล่นไวโอลินตามถนน และทำงานอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งที่ “Le petit journal” ที่ได้มีโอกาสเขียนภาพหน้าปกหลายภาพ



รูโซเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1910 ในโรงพยาบาลในกรุงปารีส ผู้ไปงานศพก็มีเพื่อนเจ็ดคนที่รวมทั้งจิตรกรพอล ซียัค และ มานูเอล ออร์ทีซ เดอ ซาราต, โรแบร์ต เดอโลเนย์ และภรรยา ซอนยา เดอโลเนย์, ประติมากรคอนสแตนติน บรังคูซิ, เจ้าของบ้าน อาร์มองด์ เควาล และ กีโยม อาโปลีแนร์ ผู้เขียนบทอนุสรณ์สำหรับหินบนหลุมศพว่า

We salute you
Gentle Rousseau you can hear us
Delaunay his wife Monsieur Queval and myself
Let our luggage pass duty free through the gates
of heaven
We will bring you brushes paints and canvas
That you may spend your sacred leisure in the
light of truth Painting
as you once did my portrait
Facing the stars
lion and the gypsy”


อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B5_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B
ความคิดเห็นของอาจารย์เฉลิมชัยต่อ อองรี 
นาอีฟคืออะไร นาอีฟเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งที่คนที่ไม่ได้เรียนวาดรูป วาดขึ้นมา วาดมาจากหัวจิตหัวใจจากความไม่รู้ แต่สามารถสร้างงานศิลปะที่เป็นตัวตนของตนเองได้ มีความรู้ที่เป็นคุณค่าทางศิลปะสูงมากเท่ากับคนที่เรียนมีความรู้ คนผู้นั้นคือออรี รูโซ เค้าเป็นคนเขียนรูปจากคนไม่เคยเรียนศิลปะเลย แต่งานของเค้ายิ่งใหญ่มาก เค้าเขียนธรรมชาติ เขียนเสือ เขียนอะไรซ่อนมิสติกมาก แล้วสีดิบๆ สีแบบไม่เคยเรียน ไม่รู้จักสี ไม่รู้จักทักษะของการวาดรูป ไม่รู้อะไรเลย แต่กูวาดรูปมาจากหัวใจ จากความรู้สึกของกูเอง ดังนั้นงานศิลปะของรูโซนั้นจึงเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่ามาก เป็นงานศิลปะที่แปลกออกไปจากลัทธิอื่น ในลัทธิทุกลัทธิไม่ว่าจะเป็นอิมแบดจินีส เอกแบกจินีส คิวบิสซึ่มหรืออะไรต่อๆไป แต่ว่านาอีฟเป็นงานศิลปะของพวกคนที่ไม่เคยเรียนอะไร แต่เขียนรูปจากความรู้สึก ที่ได้เห็น ได้พบ แล้วรู้สึก แล้วเขียน เขียนจากความปราณีตในใจของตนเอง จึงกลายเป็นงานศิลปะที่พิเศษมาก นอกเหนือจากงานศิลปะของพวกมีความรู้ทั้งหลาย โอโห อันนี้น่าสนใจครับ อยากจะให้พี่น้องประชาชนได้ไปเปิดดู ผมชอบ คนวาดรูปเก่งทุกคนในโลกชอบนาอีฟ เพราะว่ามันมาจาก ซินเซีย ซินเซียก็คือมาจากหัวใจ มาจากความรู้สึกที่ตรงไปตรงมา ( ที่มา จากการให้สัมภาษณ์ของ อ. เฉลิมชัย โฆฆิษพิพัตฒ์ จากรายการสอนศิลป์ )


คลิปการให้สัมภาษณ์ อ.เฉลิมชัยเกี่ยวกับอองรี นาทีที่ 6:44