2554-12-17

ศูนย์แสดงศิลปะ ลินห์นคอน เซ็นเตอร์ (Lincoln Center for the Performing Arts)

ศูนย์แสดงศิลปะ ลินห์นคอน เซ็นเตอร์ (Lincoln Center for the Performing Arts)
 ภาพประกอบโดย SeanPavonePhoto / Shutterstock.com


 ศูนย์แสดงศิลปะ ลินห์นคอน เซ็นเตอร์ ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในปี 1960 จอห์น ดี ร็อคกีเฟลเลอร์( John D. Rockefeller)  เป็นศูนย์ศิลปะที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นบ้านของสถาบันศิลปะนิวยอร์กทั้ง 12 แห่ง อาทิ โรงละครโอเปร่า( the New York city opera), เมโทรโพลิแทน, โรงแสดงบัลเล่ต์นิวยอร์ก(the New York City Ballet) ,ที่จัดแสดงคณะประสานเสียง(the New York Philharmonic) โรงหนังลินห์นคอน เซ็นเตอร์, Juilliard School เป็นต้น และเป็นที่แน่นอนเลยว่าผู้หลงใหลศิลปะทั้งหลาย จะได้รับประสบการณ์อันยอดเยี่ยมกับผลงานอันตระการตาต่าง ๆ จากเหล่านักแสดงและเป็นแรงใจให้กับศิลปินหน้าใหม่มามากกว่า 50 ปี

video Lincoln Center
youtube.com

อ้างอิง :  http://board.postjung.com
            youtube.com
            wikipedia.com

2554-12-13

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

อศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok Art and Culture Centre) หรือ หอศิลป์กรุงเทพฯเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 
 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณภายนอกอาคาร




 ทางเดินก้นหอยรอบตัวอาคาร



 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณภายนอกอาคารเชื่อมต่อทางเดินจากมาบุญครอง



 บริเวณภายในจัดแสดง
ประวัติ 
โครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน และเก็บรักษาผลงานในอดีตและประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะ แลกเปลี่ยนความคิด แนวการทำงาน ผลก็คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาของวงการศิลปะในบ้านเมืองนี้
สมัยของ ดร.พิจิตต รัตตกุลได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่า กทม. มีการผลักดันจนกระทั่ง กทม. มีนโยบายที่จะสร้างหอศิลป์ขึ้น มีการกำหนดพื้นที่ตั้งหอศิลป์ที่บริเวณสี่แยกปทุมวัน และผู้ชนะจากการประกวดแบบหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริษัท Robert G. Boughey & Associates (RGB Architects) ความพร้อมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 แต่ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวชผู้ว่า กทม. คนต่อมา โครงการหอศิลป์กรุงเทพมหานครถูกรื้อถอนโครงการความคืบหน้าเดิมทิ้งทั้งหมด โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่การค้าตามรูปแบบการใช้พื้นที่แถบนั้น และมีส่วนแสดงศิลปะไว้เล็กน้อย ซึ่งบรรดาศิลปินและคนทำงานศิลปะในหลายแขนงต่างไม่พอใจในการยุบโครงการนี้เป็นอย่างมาก และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช
จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีหอศิลป์โดยเครือข่ายประชาชนและกลุ่มศิลปินที่ยาวนาน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และได้วางนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สภาแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 509 ล้านบาท[1] เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน และได้มีการเปิดโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2548
ในกำหนดการเดิม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะสร้างเสร็จช่วงปลายปี 2549 แต่การก่อสร้างได้ล่าช้าออกไปจากเดิม แล้วเสร็จเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอศิลปฯ ประติมากรรมช้างเอราวัณ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ชุด "บารมีแห่งแผ่นดิน" และนิทรรศการโขนพรหมมาศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปี นับตั้งแต่การเปิดโครงการหอศิลปฯ แห่งนี้อีกด้วย
พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
ตัวอาคารสูง 9 ชั้น (บวกอีก 2 ชั้นใต้ดิน) โดยในตัวอาคารถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างอาคารได้ด้วยทางเดินวน เป็นแนวเอียงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมผลงาน สามารถชมได้ต่อเนื่องในแต่ละชั้น นอกจากนี้ตัวอาคารยังออกแบบมาให้สามารถรับแสงสว่างจากภายนอกได้ โดยที่แสงไม่แรงพอจะที่เข้ามาถึงขนาดทำลายผลงานศิลปะที่แสดงอยู่ข้างในได้ นอกจากห้องนิทรรศการที่มีอยู่หลายส่วนแล้ว ภายในยังมีส่วนที่เป็นห้องสมุดประชาชน, ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ห้องอเนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ร้านค้า รวมไปถึงโรงภาพยนตร์-โรงละครขนาด 222 ที่นั่ง

ที่ตั้
ริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไทตรงข้ามมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่, มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ

credit: http://th.wikipedia.org

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

2554-12-09

" บูเช็คเทียน " ศิลปะแห่งการช่วงชิงอำนาจ และช่วงใช้คนเก่ง

บูเช็คเทียน

“หญิงงาม” ต้องตกเป็นจำเลยสำคัญตลอด 3000 ปีที่ผ่านมา ในการอธิบายความล่มสลายของราชวงศ์จีนนับครั้งไม่ถ้วน
หากทว่ามีเพียง 1 หญิงงามเท่านั้น ที่สามารถใช้เสน่ห์พิศวาสในการกรุยทางสู่อำนาจ และครุ่นคิดวางแผนจนกระทั่งโค่นล้มราชวงศ์เก่า ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ของตนเองได้สำเร็จ เธอจึงเป็นจักรพรรดินีหญิงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์จีน
บูเช็คเทียน นับเป็นจักรพรรดินีที่เหี้ยมโหดและฟุ้งเฟ้อที่สุดคนหนึ่งของโลก หากทว่า เธอกลับสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอกคนใด จึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ในการสรุปบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อประยุกต์พลิกแพลงใช้ในชีวิตจริง

 1. สร้างบุญคุณกับ “คนรากหญ้า” ที่เป็นเบี้ยหมากสำคัญในการช่วงชิงแผ่นดิน
 ชนชั้นสูงทั่วไปที่ได้รับอำนาจจากบรรพบุรุษโดยไม่ต้องเหนื่อยยากลำบาก ย่อมมีจุดอ่อนที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง นั่นคือ การละเลยชนชั้นล่างที่เป็นฐานอำนาจให้ตนเองได้เสวยสุขในทุกวัน

 ชีวิตวัยสาวสะพรั่งของบูเช็คเทียนต้องสูญเสียไปโดยแทบไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน เมื่อเธอเป็นเพียงสนมระดับปลายแถวที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจาก “ถังไท่จง” มหาราชาผู้สถาปนาราชวงศ์ถัง หากทว่าโอกาสเพียงน้อยนิดในวังหลวง ก็ทำให้เธอสามารถหว่านเสน่ห์ให้กับเจ้าชายองค์หนึ่ง ที่แม้จะอ่อนแอขี้โรคและด้อยสติปัญญา แต่สุดท้ายด้วยโชคชะตาพลิกผันในปลายรัชกาล ก็ดลบันดาลให้เจ้าชายไร้ความสามารถได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา


หลังจากพิชิตใจ “ถังเกาจง” ที่เป็นราชันองค์ใหม่ไว้ในกำมือได้ หากกระนั้น การไต่เต้าจากนางสนมระดับล่างขึ้นสู่ตำแหน่งราชินีก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะระบบราชการในวังหลวงย่อมไม่เปิดโอกาสให้คนนอกที่เป็นชนชั้นกลางและล่างได้ฉกฉวยทะเยอทะยานขึ้นมาโดยสะดวก จึงต้องมีการเค้นสมองครุ่นคิดเพื่อหาจุดอ่อนช่องว่างในการแทรกตัวสู่วงโคจรแห่งอำนาจ

“คนรับใช้” ซึ่งเป็นกลไกทำงานที่ขาดไม่ได้ในทุกกิจกรรมของวังหลวง จึงเป็นหมากพิสดารในการช่วงชิงอำนาจของบูเช็คเทียน โดยการผูกมิตรด้วยน้ำใจและทรัพย์สินเงินทอง ก็ย่อมทำให้คนรับใช้ทั้งหลายยินดีเป็นหูเป็นตาให้บูเช็คเทียน ทั้งเพื่อสะสมข้อมูลในการป้องกันตัวเองและรอคอยโอกาสทำร้ายศัตรู
2 ปีต่อมา บูเช็คเทียนก็สบโอกาสปรักปรำใส่ร้ายราชินีหวาง ซึ่งแม้จะเป็นคนดี แต่ก็ไม่เคยใส่ใจกับชนชั้นล่างที่รับใช้ตนเองอยู่ทุกวันเลย จึงไม่มีพยานรู้เห็นคอยแก้ต่างให้เธอในยามที่ต้องคดีฆ่าลูกสาวของบูเช็คเทียน เพราะเธอเป็นคนสุดท้ายที่เข้ามาเยี่ยมเยือนเด็กน้อย

หลังจากผิดพลาดไปครั้งหนึ่งแล้วราชินีหวางก็ยังไม่ตื่นตัว ตามประสาชนชั้นสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเล่ห์อุบายลึกซึ้ง ในที่สุดเธอก็โดนข้อหางี่เง่าที่สุดซึ่งทำให้หลุดจากตำแหน่งราชินี นั่นคือ การใช้เวทมนตร์คุณไสยเพื่อทำร้ายองค์กษัตริย์ โดยมีหลักฐานเป็นตุ๊กตาไม้ที่มีพระนามและดวงชะตาขององค์กษัตริย์สลักไว้ พร้อมด้วยตะปูซึ่งตอกผ่านไปที่หัวใจ หลักฐานนี้พบที่ใต้แท่นบรรทมของราชินีหวาง ซึ่งเป็นไปได้อย่างสูงว่าจะเป็นฝีมือของคนรับใช้ที่แสนต่ำต้อย ซึ่งเคยได้รับน้ำใจจากบูเช็คเทียน

เมื่อแสดงฝีไม้ลายมือไปพอสมควรก็เริ่มมี “ข้าราชการ” ชั้นผู้น้อยบางคน เข้ามาแสวงหาโอกาสและเป็นพันธมิตรช่วยเหลือ ซึ่งบูเช็คเทียนก็ยินดีรับเป็นสมัครพรรคพวก ยิ่งเมื่อเธอขึ้นสู่อำนาจอย่างมั่นคงแล้ว ก็ยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านร้านตลาดที่เกะกะระรานหรือขี้ประจบเอาใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกมช่วงชิงความเป็นใหญ่อีกด้วย

ความได้เปรียบเพียงประการเดียวของบูเช็คเทียนในช่วงแรก คือ การมีกษัตริย์คอยหนุนหลังให้ท้าย หากทว่าเธอจะใช้มันอย่างไรให้เป็นประโยชน์สูงสุด บางคนอาจมองว่าให้ผูกมิตรกับคนเก่งและคนดีไว้เพื่อใช้เป็นบันไดไต่เต้าขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเธอไม่ได้มาจากตระกูลสูงศักดิ์ ซ้ำยังผิดธรรมเนียมที่เป็นเมียพ่อแล้วยังมาเป็นเมียลูกอีก จึงยากที่คนเก่งและคนดีจะเห็นเธออยู่ในสายตา

การที่เธอให้ความสำคัญกับคนรับใช้ที่ต้อยต่ำ ชาวบ้านที่อยู่นอกรั้วนอกวังที่เข้ามาให้ข้อมูลข่าวสารหรือสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจ รวมถึงข้าราชการที่ไม่ได้มีคุณสมบัติโดดเด่น ก็ย่อมเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดที่สุด ในเกมแย่งชิงความเป็นใหญ่ที่ทรัพยากรเริ่มต้นของเธอมีจำกัดจำเขี่ยอย่างยิ่ง

สรรพสิ่งไม่ว่าต่ำต้อยเพียงใด ย่อมมีพลังและคุณค่าให้ใช้สอย

 2. คำนวณจังหวะเหมาะสมในการทำร้ายหรือช่วงใช้ “คนเก่ง”

สิ่งที่ทำให้บูเช็คเทียนแตกต่างจากนักการเมืองธรรมดาทั่วไป ก็คือ การเห็นความสำคัญของคนเก่ง ทั้งในฝ่ายที่เป็นมิตรและศัตรู

ในช่วงเริ่มต้นที่ทุนรอนอำนาจยังมีไม่มากนัก การเปิดศึกหลายด้านกับคนเก่งและคนดีที่ประชาชนรักใคร่ย่อมไม่ใช่วิถีของผู้ทรงภูมิ เธอจึงสะสมและจัดการไปทีละคน ซึ่งช่วยลดทอนความเสี่ยงและเพิ่มพูนโอกาสแห่งชัยชนะ ที่สำคัญยังทำให้คนเก่งบางคนเริ่มเปลี่ยนใจมารับใช้มากขึ้น ตามสมการอำนาจที่เปลี่ยนดุลไป

หลังจากที่มั่นคงและปลอดภัยในอำนาจแล้ว เธอก็เริ่มเปิดโอกาสให้คนเก่งที่ถูกเนรเทศและหลงเหลือชีวิตจากการกวาดล้าง กลับเข้ามารับใช้บ้านเมืองอีกครั้ง ในขณะที่คนชั่วร้ายซึ่งเคยเป็นหินรองเท้าในการขึ้นสู่อำนาจ ก็จะถูกกำจัดไปทีละคน ทั้งโดยการเปิดช่องทางให้จัดการกันเอง และการปล่อยให้คนดีที่เคยถูกทำร้ายได้ร่วมกันวางแผนเพื่อโค่นล้มอันธพาลซึ่งหมดประโยชน์แล้วทิ้งไป

ช่วงท้ายของรัชกาล บูเช็คเทียนกลับสูญเสียความสามารถแห่งการจัดการคนเก่งไปแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเธอพึ่งพา “ตี๋เหรินเจี๋ย” ในการแสวงหาผู้เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ซึ่งคนเหล่านี้จะกลับมาแว้งกัดและทำให้เธอต้องสละราชสมบัติที่แย่งชิงมาอย่างลำบากยากเย็น

การเลือกสรรเพียงคนเก่งมาทำงานให้ชาติ จึงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของนักการเมือง หากยังต้องเลือกสรรคนที่ไว้วางใจได้มาคอยถ่วงดุล ไม่ให้คนเก่งมีอำนาจล้นเกินและสมคบศัตรูมาโค่นล้มผู้เป็นนาย หากทว่าการกำจัดคนเก่งทิ้งให้หมดสิ้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ชาญฉลาด เพราะอาจทำให้การบริหารบ้านเมืองล้มเหลว จนกระทั่งประชาชนลุกฮือขึ้นมาทำร้ายราชบัลลังก์

“คนเก่ง” จึงเป็นเหมือนอาวุธร้าย ที่อาจนำพาเราขึ้นสู่อำนาจหรือโค่นล้มเราตกจากอำนาจก็ย่อมได้ การแสวงหาคนเก่งให้มากที่สุด เพื่อตัดโอกาสคู่แข่งในการนำไปใช้สอยเพื่อต่อสู้กับเราจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ หากทว่า การซื้อใจและสร้างความภักดีให้คนเก่งขึ้นตรงต่อเรา ย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำยิ่งกว่า สุดท้ายสิ่งที่พึงกระทำสูงสุดก็คือ การแสวงหาชนชั้นล่างที่ต่ำต้อยและต้องพึงพาตัวเราที่สุดให้เข้ามาลิ้มรสเย้ายวนแห่งอำนาจ เพื่อคอยสร้างสมดุลแห่งอำนาจไม่ให้คนเก่งทั้งหลายคบคิดกันกระทำรัฐประหารได้

บูเช็คเทียนย่อมทำตามสูตรสำเร็จนี้ หากทว่ายังมีจุดบกพร่องเล็กน้อย นั่นคือ การคลุกกับชายหนุ่มรูปงามซึ่งต้องพึ่งพาเธอมากเกินไป จนกระทั่งละเลยที่จะแบ่งเวลาเพียงน้อยนิดมากระชับสัมพันธ์กับคนเก่งที่เธอเลือกสรรมา ในที่สุดคนเหล่านี้จึงเอาใจออกห่าง โดยหวนกลับไปสวามิภักดิ์ราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไปแล้ว หากยังมีเศษซากแห่งความทรงจำที่ดีหลงเหลือเป็นเชื้อไฟ

 3. ยอดคน = เก่งในหน้าที่การงาน + เก่งในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์

การกวาดล้าง “คนเก่ง” ของพระนางบูเช็คเทียน พิจารณาผิวเผินจึงดูเหมือนเป็นการทำร้ายบ้านเมือง หากทว่า เหตุใดราชวงศ์ถังในยุคของพระนางจึงรุ่งเรืองยิ่งใหญ่

ถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน) เป็นสุดยอดราชันที่ได้วางรากฐานราชวงศ์ไว้อย่างเลอเลิศ หากทว่า การที่ราชสำนักเต็มไปด้วยคนเก่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะย่อมทำให้คนที่เก่งกว่า หากทว่าเข้าสู่วงจรอำนาจทีหลัง ไม่มีโอกาสได้ไต่เต้าขึ้นไป

การกวาดล้างของพระนางบูเช็คเทียน ย่อมเปิดโอกาสให้คนเก่งที่ฉลาดในการเอาตัวรอด ได้เข้าแทนที่คนเก่งซึ่งเพียงแต่ฉลาดในหน้าที่การงานเท่านั้น

ข้าราชการที่เน้นเพียงประสิทธิภาพและคุณความดีเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจรับมือกับปัญหาของบ้านเมืองที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้ ดังนั้น ในระยะยาวจึงไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ
ทักษะการเอาตัวรอดในสถานการณ์หลากหลาย โดยเฉพาะการเลือกข้างทางการเมือง ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่อาจแน่ใจได้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะตัวจริง ยิ่งถ้าเกมการเมืองพลิกกลับไปมา คนที่เลือกข้างถูกต้องในระยะยาวก็อาจโดนฝ่ายที่ชนะในระยะสั้นกวาดล้างไปก่อน ที่สำคัญ พวกซึ่งมีเพียงความภักดีโดยไร้ฝีมือทำงาน ก็ยังถูกพระนางบูเช็คเทียนกวาดล้างไปในตอนท้ายอีกด้วย

“หลี่จี” นับเป็นตัวอย่างคนเก่งที่มีไหวพริบพลิกแพลงถึงขีดสุด เริ่มตั้งแต่การรับใช้หลี่มีในยุคบ้านเมืองวุ่นวาย สุดท้ายเมื่อหลี่มีพ่ายแพ้และเข้าสังกัดราชวงศ์ถัง หลี่จีก็สามารถเข้ากับราชวงศ์ใหม่และไต่เต้าไปสู่อำนาจได้ เมื่อบูเช็คเทียนกวาดล้างข้าราชการในราชวงศ์ถัง หลี่จีก็เลือกจังหวะเวลาเหมาะสมในการเข้าสวามิภักดิ์กับบูเช็คเทียนและไต่เต้าไปจนถึงจุดสูงสุดของชีวิต

ตี๋เหรินเจี๋ย เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง เพราะถึงแม้จะภักดีกับราชวงศ์ถัง แต่ยังต้องอดทนอดกลั้นไว้ หากทว่าตี๋เหรินเจี๋ยก็ยังรักษาคุณงามความดีเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยินดีทำชั่วเพื่อประจบเอาใจบูเช็คเทียน ในที่สุดเมื่อยุคแห่งการกวาดล้างผ่านพ้นไป ตี๋เหรินเจี๋ยจึงกลายเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูงยิ่ง

ความอ่อนแอของราชวงศ์ถังในช่วงเวลาต่อมา จึงไม่ได้เกิดจากการกวาดล้างทางการเมืองของพระนางบูเช็คเทียน หากทว่ากลับมีสาเหตุมาจากความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายของพระนาง แม้กระนั้น คุณูปการที่ทรงทำให้บ้านเมือง ก็สมน้ำสมเนื้อกับการเสวยสุขในบั้นปลายชีวิต หากจะโทษก็ต้องว่าคนรุ่นหลังที่ไม่สามารถบริหารประเทศให้ดีทัดเทียมจักรพรรดินีหญิงองค์เดียวแห่งประวัติศาสตร์จีน


 http://www.siamintelligence.com/wu-zetian-politic/
  http://board.postjung.com/581384.html



ศิลปะการพับกระดาษ by Simon Schubert






เห็นแล้วต้องทึ่งกับผลงานอันยอดเยี่ยมของ  Simon Schubert 
ที่บรรจงสร้างสรรลงบนแผ่นกระดาษสีขาวบางๆ  ให้เกิดเป็นลวดลายรูปภาพอันงดงาม
แถมภาพเหล่านั้นยังมีมิติให้น่าค้นหา   ค้นหา....ว่าทำได้ไงหว่า?
ภาพผลงานต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างด้วยการพับขึ้นจากกระดาษ
ด้วยจิตนาการของ Simon และเทคนิคเฉพาะตัวเค้า  ที่เชื่อได้ว่าเพื่อนๆเองก็ต้องสงสัยว่าเค้าทำได้ไง 
แล้วใช้เทคนิคอะไรทำ  และต้องลองไปชมผลงานกันแบบเต็มๆ







 ขอบคุณเครดิต//http://fukduk.com